วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550

อาจารย์วิวรรธ์ จันทร์เทพ








ประติมากรรมเพื่อประโยชน์ใช้สอย แบ่งเป็นกี่ประเภท
ประติมากรรมเพื่อประโยชน์ใช้สอย เป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวันของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในสังคมไทย ได้แก่ ประติมากรรมในสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องมหรสพ เครื่องเล่นและเครื่องตกแต่งชั่วคราวประติมากรรมประเภทนี้แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
1. ประติมากรรมเครื่องตกแต่งชั่วคราว
ประติมากรรมเครื่องตกแต่งชั่วคราว เป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีกรรมหรือกิจกรรมบางอย่าง ใช้ระยะเวลาอันสั้นเพื่อให้พิธีกรรมหรือกิจกรรมนั้นสมบูรณ์ วัสดุที่นำมาสร้างประติมากรรมประเภทนี้มักเป็นวัสดุไม่คงทนมีอายุการใช้งานสั้น เช่น หยวกกล้วย เทียนกระดาษ ผักและผลไม้ จะเห็นได้จากงานสลักแทงหยวกเป็นลวดลายใช้ประดับตกแต่งเบญจา เชิงตะกอนในพิธีงานศพ การตกแต่งบายศรีในพิธีบวช และพิธีโกนจุก การแกะสลักเทียนพรรษาและปราสาทผึ้ง การสลักผลไม้เนื้ออ่อนจำพวกฟักทอง มะละกอ หัวเผือกหรือมัน เป็นภาชนะบรรจุของกินเวลาถวายพระ หรือสลักผลไม้ดังกล่าวเป็นลวดลายและรูปภาพ ตกแต่งในที่ต่างๆ เวลามีพิธีกรรม รวมทั้งการแกะสลักเพื่อความสวยงามในการปรุงอาหารไทย ล้วนเป็นการแสดงออกซึ่งฝีมือประติมากรรมของคนไทยแทบทั้งสิ้น
เทียนพรรษาแกะสลัก
2. ประติมากรรมเครื่องมหรสพ
ประติมากรรมเครื่องมหรสพ เป็นประติมากรรมเพื่อการบันเทิง คนไทยมีความเชี่ยวชาญในการเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาสร้างงานประติมากรรมประเภทนี้ เช่น การนำหนังสัตว์ได้แก่ หนังวัว หนังควาย มาแกะสลักเป็นภาพฉลุเรื่องรามเกียรติ์ ใช้เล่นหนังตะลุง หนังใหญ่ ซึ่งเป็นแผ่นภาพแบนใช้ทาบกับจอผ้าขาว สุมไฟสว่างด้านหลังจอ เพื่อดูเงาของภาพหนัง นอกจากนี้ยังมีการนำกระดาษฟางและกระดาษสา มาสร้างหัวโขน การนำปูนมาปั้นหรือนำไม้มาแกะสลักทำหุ่นเล็ก หุ่นกระบอก หรือหุ่นหลวง แล้วตกแต่งลวดลายด้วยเทคนิคต่างๆ เป็นต้น
พระฉายทองคำลงยา เครื่องราชอิสริยยศราชูปโภคสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
3. ประติมากรรมเครื่องเล่น
ประติมากรรมเครื่องเล่น เป็นประติมากรรมพื้นบ้าน เป็นงานปั้นคนหรือสัตว์ขนาดเล็กทำเป็นตุ๊กตาต่างๆ เช่น ตุ๊กตาชาววัง ตุ๊กตาเจ้าพราหมณ์ ตุ๊กตาเด็กหัวจุกและตุ๊กตาแม่อุ้มลูกเป็นต้น และทำเครื่องเล่น เครื่องบันเทิง ต่างๆเช่น การแกะสลักสะบ้า ตัวหมากรุก เป็นต้น ตุ๊กตาเล็กๆ เหล่านี้บางครั้งคนไทยยังใช้เป็นเครื่องบวงสรวง สะเดาะเคราะห์ หรือทำขึ้นเพื่อรับเคราะห์แทนตน เช่น ตุ๊กตาเสียกบาล
หุ่นหลวงเล็ก ตัวละครในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ฝีมือช่างวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ ๕
http://search.sanook.com/knowledge/enc_preview.php?id=521&source_location=2&title=%BB%C3%D0%B5%D4%C1%D2%A1%C3%C3%C1%E0%BE%D7%E8%CD%BB%C3%D0%E2%C2%AA%B9%EC%E3%AA%E9%CA%CD%C2

4. ประติมากรรมตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้
ประติมากรรมตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ เป็นประติมากรรมที่ตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ให้เกิดความสวยงามน่าใช้น่าจับต้อง เช่น การสลักดุนภาชนะเครื่องใช้ขนาดเล็กด้วยลวดลายไทยต่างๆ ทั้งขันน้ำ พานรอง คนโท หม้อน้ำและทัพพี เป็นต้น หรือการจำหลักไม้ลงบนเครื่องใช้ขนาดใหญ่จำพวกเครื่องเรือน เช่น ตู้ ตั่ง คันฉ่องและอัฒจันทร์พระ เป็นต้น เครื่องเรือนเหล่านี้มักทำจากไม้สัก ซึ่งเป็นไม้เนื้อไม่แข็งจนเกินไปช่างสามารถใช้เครื่องมือจำหลักให้อ่อนไหวพลิกพลิ้วตามมือและใจปรารถนาของตนได้ งานสลักสิ่งของเครื่องใช้ต้องใช้ความประณีตสูง เพราะเป็นงานระดับตาใกล้ชิด ลวดลายต้องมีความละเอียดสวยงาม
ตุ๊กตาเสียกบาล

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ตอบคำถามอาจารย์


1. สุนทรียศาสตร์ คืออะไร
ตอบ เป็นวิชาที่ว่าด้วยความงาม ความงามในธรรมชาติ และความงามในผลงานที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นเป็นงานศิลปกรรม
2.สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ
1. ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินความงาม อย่างสมเหตุสมผล
2. ช่วยกล่อมเกลาให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดี อย่างมีเหตุมีผล
3. เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียะให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข
4. ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
5. ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่งและการบูรณาการเพื่อการประยุกตืใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน
3.สุนทรียศาสตร์มีความสำคัญต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร
ตอบ มีความปราณีตละเอียดอ่อนในการดูแลรักษาผู้ป่วยและทำให้มีจริยธรรมต่อวิชาชีพพยาบาล